ความโศกเศร้าที่แสนหวาน

ชายคนหนึ่งชื่อฮิเดะซาบุโระ อูเอโนะสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียลในช่วงทศวรรษ 1920 ทุกวันเขากลับบ้านโดยรถไฟเที่ยวบ่ายสามโมงซึ่งฮาจิโกะสุนัขของเขาจะมารอรับ วันหนึ่งศาสตราจารย์อูเอโนะมีภาวะเส้นเลือดในสมองแตกระหว่างการสอนและเสียชีวิต เมื่อเขาไม่ได้ออกมาจากรถไฟเที่ยวบ่าย ฮาจิโกะวนเวียนรออยู่สักพักแล้วกลับบ้านไป วันต่อมาสุนัขกลับมารอเวลาบ่ายสามโมงเช่นเดิม และวันถัดๆไปเป็นเวลาสิบปี ความจงรักภักดีของฮาจิิโกะเป็นที่ประทับใจของคนญี่ปุ่นจำนวนมากซึ่งแวะเวียนมานั่งรอเป็นเพื่อนมัน

เอลีชาอุทิศตัวให้กับเอลียาห์เจ้านายของท่านเช่นกัน ในวันที่เอลีชารู้ว่าจะสูญเสียเอลียาห์ไป ท่านไม่ยอมให้เอลียาห์คลาดสายตา เมื่อรถเพลิงมารับเอลี-ยาห์ขึ้นสู่สวรรค์ เอลีชาตะโกนบอกสิ่งที่ท่านเห็น “คุณพ่อของข้าพเจ้า คุณพ่อของข้าพเจ้า ดูรถรบของอิสราเอลและพลม้าประจำ” (2 พกษ.2:12) ท่านหยิบเสื้อคลุมของเอลียาห์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งสิทธิอำนาจของผู้เผยพระวจนะที่ก่อนหน้านั้นได้ใช้แยกแม่น้ำจอร์แดนออกจากกัน (ข้อ 8) และท่านถามว่า “พระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งเอลียาห์ทรงสถิตที่ใด” (ข้อ 14) ท่านฟาดเสื้อคลุมลงไปที่แม่น้ำและน้ำก็แยกจากกันเช่นเดียวกับเจ้านายของท่าน ช่างเป็นวันแห่งความโศกเศร้าที่แสนหวาน!

คุณเคยสูญเสียคนที่รักไปหรือไม่ ไม่มีคำพูดใดที่จะบรรยายความเจ็บปวดของคุณได้ ทุกการร้องไห้รื้อฟื้นความทรงจำถึงความรักที่คุณมีร่วมกัน คุณเจ็บปวดในส่วนลึกเพราะคุณรักอย่างลึกซึ้ง ช่างเป็นความโศกเศร้าที่แสนหวาน! ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับคนที่คุณรัก และการที่คุณสามารถมีความรัก เอลีชาหยิบเสื้อคลุมของเอลียาห์ขึ้นมา แล้วคุณล่ะจะทำสิ่งใด

วันที่ 2 - เลวเกินไป สายเกินไปหรือไม่


ลูกา 23:43

ฝ่ายพระเยซูทรงตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่เจ้าว่า วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม”

คริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์ คือชายผู้ต่อต้านพระเจ้าที่มีชื่อเสียง เขาขึ้นโต้วาทีกับผู้เชื่อพระคริสต์อย่างดุเดือด ขณะใกล้จะเสียชีวิตลงจากโรคมะเร็ง เขาประกาศว่าหากใครได้ยินว่าเขากลับใจมาเชื่อพระเยซูก่อนสิ้นใจ ก็ให้ถือเป็นหลักฐานว่าเขาได้เสียสติไปแล้ว คู่โต้วาทีและเพื่อนกล่าวว่า ฮิตเชนส์ได้เตือนผู้ติดตามของเขาเอาไว้ล่วงหน้า เพราะเขารู้ว่าเมื่อประจันหน้ากับความตายจริงๆ เขาอาจจะสิ้นหวังและหันไปหาพระคริสต์ได้ ใครจะรู้ล่ะครับ เขาอาจจะทำเช่นนั้นก็เป็นได้ คนหนึ่งที่ต่อต้านพระเจ้ามาตลอดทั้งชีวิต แต่ยังคงได้รับความรอดด้วยพระเมตตาในไม่กี่วินาทีสุดท้าย สิ่งนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

โจรบนไม้กางเขนใช้ชีวิตอย่างชั่วช้า เขาบอกกับผู้ร้ายร่วมกางเขนว่า “เราก็สมกับโทษนั้นจริง เพราะเราได้รับสมกับการที่เราได้กระทำ แต่ท่านผู้นี้หาได้กระทำผิดประการใดไม่” (ลูกา 23:41) โจรผู้นี้เหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมงสุดท้ายที่เจ็บปวดแสนสาหัส ซึ่งความเจ็บปวดทางกายอาจบดบังความต้องการทางฝ่ายจิตวิญญาณที่สำคัญกว่ามากได้

ในตอนแรก เขาเองได้ทิ้งนาทีอันมีค่าไปด้วยการร่วมเยาะเย้ย หมิ่นประมาทพระเยซู (มาระโก 15:32) แต่ขณะถูกตรึงอยู่บนกางเขน โหยหาความตายเนื่องจากความเจ็บปวดแสนสาหัสนั้น เขาหันไปมองพระผู้เป็นโอกาสสุดท้ายของเขา และทูลว่า “พระเยซูเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงระลึกถึงข้าพระองค์ เมื่อพระองค์เสด็จเข้าในแผ่นดินของพระองค์” (ลูกา 23:42)

พระเจ้าทรงพอพระทัยในการช่วยผู้คนให้รอด รวมถึงคนที่อยู่ในวาระสุดท้ายด้วย แทนที่จะเพ่งดูในสิ่งที่เรากระทำผิด ให้เราเพ่งดูที่พระเยซู

ไมค์ วิทเมอร์

ใคร่ครวญ : คุณเสียใจกับสิ่งใดมากที่สุด อะไรทำให้คุณคิดว่าคุณไม่สมควรได้รับการอภัย
อธิษฐาน : พระเยซูที่รัก ข้าพระองค์มองไปยังพระองค์ ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว เพราะพระองค์เท่านั้นที่ช่วยข้าพระองค์ให้รอดได้อย่างแท้จริง…

วันที่ 7 - คำพูดสุดท้าย

ลูกา 23:46

พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์

ขณะที่มาร์ติน ลูเธอร์กำลังจะสิ้นใจ บาทหลวงคนหนึ่งปลุกท่านขึ้นและถามว่า "คุณพ่อที่เคารพ ท่านจะจากไปอย่างมั่นคงในพระคริสต์ ตามหลักข้อเชื่อที่ท่านสั่งสอนไว้หรือไม่" ลูเธอร์ตอบว่า "ใช่" แล้วจึงหลับลงเป็นครั้งสุดท้าย ช่างเป็นการจากไปที่ยิ่งใหญ่ ผมหวังว่าคำพูดสุดท้ายของผมจะมีความหมายมากเช่นนั้นด้วย ผมไม่อยากจากไปกลางประโยค จบชีวิตด้วยคำพูดที่ไม่สำคัญ ผมอยากจากไปเหมือนลูเธอร์ ด้วยการยืนยันถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างมั่นใจ

คำพูดสุดท้ายของพระเยซูเป็นอย่างไร พระธรรมมาระโกกล่าวว่า "ฝ่ายพระเยซูทรงร้องเสียงดังแล้วก็สิ้นพระชนม์ " (15:37) พระธรรมมัทธิวก็กล่าวเช่นเดียวกัน "ฝ่ายพระเยซูร้องเสียงดังอีกครั้งหนึ่ง แล้วสิ้นพระชนม์" (27:50) การร้องครั้งสุดท้ายนี้คืออะไร เป็นการตะโกนด้วยชัยชนะหรือความสิ้นหวัง นี่คือจุดต่ำสุดในการทนทุกข์ของพระเยซู หรือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งชัยชนะของพระองค์

เราไม่จำเป็นต้องเดา เพราะลูกาได้ให้คำตอบไว้แล้ว “พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์

" (23:46) ยอห์นเสริมดังนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า “สำเร็จแล้ว!” และทรงก้มพระเศียรลงสิ้นพระชนม์ (19:30)

เสียงร้องครั้งสุดท้ายที่แสนเจ็บปวดของพระเยซูเป็นเสียงร้องตะโกนที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจในพระเจ้า และเพราะคำพูดสุดท้ายของพระองค์เปี่ยมไปด้วยความเชื่อ นั่นจึงไม่ใช่คำพูดสุดท้ายของพระองค์ เพราะพระเจ้าทรงให้พระเยซู พระบุตรผู้ล้ำค่าของพระองค์ ได้เป็นขึ้นมาใหม่ด้วยชัยชนะ และในวันหนึ่งพระองค์จะทรงให้ทุกคนที่รักษาความเชื่อในพระคริสต์เป็นขึ้นมาใหม่เช่นเดียวกัน

ไมค์ วิทเมอร์

ใคร่ครวญ : คุณอยากให้คำพูดสุดท้ายของคุณเป็นอย่างไร ลองเขียนออกมาเพื่อคนที่คุณรักจะได้อ่านหลังจากที่คุณจากไปแล้ว และในวันนี้คุณได้สะท้อนคำพูดสุดท้ายนี้อย่างไร…

วันที่ 7 - คำพูดสุดท้าย

ลูกา 23:46

พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์

ขณะที่มาร์ติน ลูเธอร์กำลังจะสิ้นใจ บาทหลวงคนหนึ่งปลุกท่านขึ้นและถามว่า "คุณพ่อที่เคารพ ท่านจะจากไปอย่างมั่นคงในพระคริสต์ ตามหลักข้อเชื่อที่ท่านสั่งสอนไว้หรือไม่" ลูเธอร์ตอบว่า "ใช่" แล้วจึงหลับลงเป็นครั้งสุดท้าย ช่างเป็นการจากไปที่ยิ่งใหญ่ ผมหวังว่าคำพูดสุดท้ายของผมจะมีความหมายมากเช่นนั้นด้วย ผมไม่อยากจากไปกลางประโยค จบชีวิตด้วยคำพูดที่ไม่สำคัญ ผมอยากจากไปเหมือนลูเธอร์ ด้วยการยืนยันถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างมั่นใจ

คำพูดสุดท้ายของพระเยซูเป็นอย่างไร พระธรรมมาระโกกล่าวว่า "ฝ่ายพระเยซูทรงร้องเสียงดังแล้วก็สิ้นพระชนม์ " (15:37) พระธรรมมัทธิวก็กล่าวเช่นเดียวกัน "ฝ่ายพระเยซูร้องเสียงดังอีกครั้งหนึ่ง แล้วสิ้นพระชนม์" (27:50) การร้องครั้งสุดท้ายนี้คืออะไร เป็นการตะโกนด้วยชัยชนะหรือความสิ้นหวัง นี่คือจุดต่ำสุดในการทนทุกข์ของพระเยซู หรือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งชัยชนะของพระองค์

เราไม่จำเป็นต้องเดา เพราะลูกาได้ให้คำตอบไว้แล้ว “พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์

" (23:46) ยอห์นเสริมดังนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า “สำเร็จแล้ว!” และทรงก้มพระเศียรลงสิ้นพระชนม์ (19:30)

เสียงร้องครั้งสุดท้ายที่แสนเจ็บปวดของพระเยซูเป็นเสียงร้องตะโกนที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจในพระเจ้า และเพราะคำพูดสุดท้ายของพระองค์เปี่ยมไปด้วยความเชื่อ นั่นจึงไม่ใช่คำพูดสุดท้ายของพระองค์ เพราะพระเจ้าทรงให้พระเยซู พระบุตรผู้ล้ำค่าของพระองค์ ได้เป็นขึ้นมาใหม่ด้วยชัยชนะ และในวันหนึ่งพระองค์จะทรงให้ทุกคนที่รักษาความเชื่อในพระคริสต์เป็นขึ้นมาใหม่เช่นเดียวกัน

ไมค์ วิทเมอร์

ใคร่ครวญ : คุณอยากให้คำพูดสุดท้ายของคุณเป็นอย่างไร ลองเขียนออกมาเพื่อคนที่คุณรักจะได้อ่านหลังจากที่คุณจากไปแล้ว และในวันนี้คุณได้สะท้อนคำพูดสุดท้ายนี้อย่างไร…

วันที่ 2 - เลวเกินไป สายเกินไปหรือไม่


ลูกา 23:43

ฝ่ายพระเยซูทรงตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่เจ้าว่า วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม”

คริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์ คือชายผู้ต่อต้านพระเจ้าที่มีชื่อเสียง เขาขึ้นโต้วาทีกับผู้เชื่อพระคริสต์อย่างดุเดือด ขณะใกล้จะเสียชีวิตลงจากโรคมะเร็ง เขาประกาศว่าหากใครได้ยินว่าเขากลับใจมาเชื่อพระเยซูก่อนสิ้นใจ ก็ให้ถือเป็นหลักฐานว่าเขาได้เสียสติไปแล้ว คู่โต้วาทีและเพื่อนกล่าวว่า ฮิตเชนส์ได้เตือนผู้ติดตามของเขาเอาไว้ล่วงหน้า เพราะเขารู้ว่าเมื่อประจันหน้ากับความตายจริงๆ เขาอาจจะสิ้นหวังและหันไปหาพระคริสต์ได้ ใครจะรู้ล่ะครับ เขาอาจจะทำเช่นนั้นก็เป็นได้ คนหนึ่งที่ต่อต้านพระเจ้ามาตลอดทั้งชีวิต แต่ยังคงได้รับความรอดด้วยพระเมตตาในไม่กี่วินาทีสุดท้าย สิ่งนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

โจรบนไม้กางเขนใช้ชีวิตอย่างชั่วช้า เขาบอกกับผู้ร้ายร่วมกางเขนว่า “เราก็สมกับโทษนั้นจริง เพราะเราได้รับสมกับการที่เราได้กระทำ แต่ท่านผู้นี้หาได้กระทำผิดประการใดไม่” (ลูกา 23:41) โจรผู้นี้เหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมงสุดท้ายที่เจ็บปวดแสนสาหัส ซึ่งความเจ็บปวดทางกายอาจบดบังความต้องการทางฝ่ายจิตวิญญาณที่สำคัญกว่ามากได้

ในตอนแรก เขาเองได้ทิ้งนาทีอันมีค่าไปด้วยการร่วมเยาะเย้ย หมิ่นประมาทพระเยซู (มาระโก 15:32) แต่ขณะถูกตรึงอยู่บนกางเขน โหยหาความตายเนื่องจากความเจ็บปวดแสนสาหัสนั้น เขาหันไปมองพระผู้เป็นโอกาสสุดท้ายของเขา และทูลว่า “พระเยซูเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงระลึกถึงข้าพระองค์ เมื่อพระองค์เสด็จเข้าในแผ่นดินของพระองค์” (ลูกา 23:42)

พระเจ้าทรงพอพระทัยในการช่วยผู้คนให้รอด รวมถึงคนที่อยู่ในวาระสุดท้ายด้วย แทนที่จะเพ่งดูในสิ่งที่เรากระทำผิด ให้เราเพ่งดูที่พระเยซู

ไมค์ วิทเมอร์

ใคร่ครวญ : คุณเสียใจกับสิ่งใดมากที่สุด อะไรทำให้คุณคิดว่าคุณไม่สมควรได้รับการอภัย
อธิษฐาน : พระเยซูที่รัก ข้าพระองค์มองไปยังพระองค์ ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว เพราะพระองค์เท่านั้นที่ช่วยข้าพระองค์ให้รอดได้อย่างแท้จริง…

อธิษฐานอย่างไร เมื่อรู้สึกผิดหวังกับพระเจ้า

บางครั้ง ปัญหาในชีวิตก็ถาโถมเข้าใส่เรา จนเรารู้สึกว่ามันยากที่จะมองเห็นหรือสัมผัสได้ถึงหลักฐานแห่งความรักของพระเจ้า ในช่วงเวลามืดมนเช่นนั้น เราจะหันหน้าไปทางไหน

ยอห์น 3:16 บอกเราว่า “เพราะว่าพระเจ้าทรงรัก (loved) โลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์“ สังเกตว่ายอห์นกล่าวว่าพระเจ้าทรง “รัก (loved)“ เรา ไม่ใช่พระเจ้าทรงรัก (loves) เรา วิธีการเล่าเรื่องในอดีต (past tense) ของยอห์นในจุดนี้ ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงรักเราแล้วในวันนี้ พระองค์ทรงรักเรา! แต่มันเป็นการเน้นย้ำว่าหลักฐานแห่งความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อเราซึ่งไม่สามารถปฏิเสธหรือเปลี่ยนแปลงได้ อยู่ในของขวัญที่พระองค์ได้ประทานให้แก่เราแล้ว คือพระบุตรของพระองค์ที่ทรงช่วยให้เรารอดพ้นจากบาปของเรา ด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงเวลาแห่งความสิ้นหวัง เราสามารถมองย้อนกลับไปที่การช่วยให้รอดอันแสนประเสริฐและรู้ว่าพระเจ้าทรงอยู่ข้างเรา

สดุดี 77 ถ่ายทอดบทเรียนที่คล้ายคลึงกัน ในจุดนี้ผู้เขียนสดุดีตกอยู่ในความรวดร้าวที่เจ็บลึก เขาทำในสิ่งที่ถูกต้องด้วยการหันไปหาพระเจ้า แต่นี่ยิ่งทำให้ความทุกข์ทรมานของเขาเพิ่มขึ้น เพราะพระเจ้ามิได้ทรงปลอบประโลมใจเขา (ข้อ 2)

เขาทนทุกข์ในค่ำคืนที่หลับไม่ลงมานานหลายคืน จนถึงจุดที่เขาไม่สามารถสรรหาคำพูดหรือคำอธิษฐานได้ (ข้อ 4) เขาหวนคิดถึงบทเพลงแห่งความชื่นชมยินดีที่เคยติดอยู่ที่ริมฝีปากในค่ำคืนก่อนหน้านั้น (ข้อ 5-6) แต่ความทรงจำนี้ยิ่งทำให้ความเจ็บปวดในปัจจุบันของเขาย่ำแย่ลง

ผู้เขียนสดุดีตั้งคำถามกับพระเจ้าอย่างต่อเนื่อง (ข้อ 7-9) เขาย้ำเตือนพระเจ้าว่าพระองค์ได้ทรงสัญญาที่จะสำแดงความโปรดปราน ความเมตตากรุณา และความเห็นอกเห็นใจต่อบรรดาประชากรของพระองค์ ผู้เขียนสดุดีตั้งความหวังว่าคำถามเหล่านี้จะกระตุ้นเตือนให้พระเจ้าทรงช่วยเขา

ข้อ 10 เป็นจุดพลิกผันของบทสดุดี มาจนถึงตอนนี้ ความคิดทั้งหมดของผู้เขียนล้วนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาของตัวเขาเอง…

อธิษฐานอย่างไร เมื่อรู้สึกกลัว

ความกลัวคือหนึ่งในอารมณ์ปกติทั่วไปของมนุษย์ เรากลัวการคุกคามจากภายนอก เช่น สงครามและภัยพิบัติ เรามีความกลัวจากภายใน เช่น ความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น

หนึ่งในร่องรอยของชีวิตที่น่าเศร้าในโลกที่ปฏิเสธพระเจ้าคือการที่เราใช้ชีวิตอยู่ด้วยความกลัว สิ่งแรกที่อาดัมพูดกับพระเจ้าหลังจากที่เขากระทำบาปคือ “ข้าพระองค์ได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์ในสวนก็เกรงกลัว” (ปฐมกาล‬ 3‬:10‬) ตอนนี้เองที่ความกลัวได้เข้ามาในโลก‬‬‬‬

สดุดี 46 นำการปลอบประโลมใจมาสู่เมืองที่ถูกเกาะกุมด้วยความกลัว บทแรก (ข้อ 1-3) ของกวีทั้งสามบท เริ่มต้นด้วยการประกาศความเชื่อซึ่งเป็นตอนต้นของบทกวีทั้งหมดที่ตามมา “พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยและเป็นกำลังของข้าพระองค์ทั้งหลาย“ (ข้อ 1)

แม้ปัญหาของเราเปลี่ยนแปลงไป แต่พระเจ้ายังทรงเหมือนเดิม ภาพที่ใช้เปรียบเทียบนั้นช่างน่าสะพรึงกลัว วิกฤติให้ความรู้สึกเหมือนการสั่นไหวของภูเขา ซึ่งสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงจนทลายราบลงสู่ทะเล (ข้อ 2, 3) แต่ความอบอุ่นใจของเราคือการที่เราปลอดภัยและมั่นคงอยู่ในองค์พระผู้เป็นเจ้า (ข้อ 1)

ในข้อ 4-7 อารมณ์ของบทกวีได้เปลี่ยนแปลงไป ลองจินตนาการว่า สดุดี 46 เป็นเหมือนวงดนตรีซิมโฟนี กวีบทแรกดังกระหึ่มด้วยเสียงกลองและทรัมเป็ต แต่แล้วในบทที่สองกลับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว คือทันใดนั้นทุกอย่างก็เงียบลง คล้ายเสียงนุ่มนวลจากฮาร์ป อีกทั้งยังมีแม่น้ำที่รินไหลอย่างสงบสุขมาแทนสายน้ำที่เชี่ยวกราก (ข้อ 4)

ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีแม่น้ำสายใดที่ไหลผ่านกรุงเยรูซาเล็ม นี่เป็นลักษณะของบทกวีที่บรรยายภาพความสงบสุขและสายน้ำที่นำมาซึ่งชีวิต องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงดูแลประชากรของพระองค์และทรงปกป้องพวกเขา ในขณะที่บรรดาประชาชาติรอบข้างโกรธแค้นพวกเขา มหานครของพระเจ้าอยู่อย่างสงบสุข เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตท่ามกลางพวกเขา (ข้อ 5)

บทสุดท้ายแห่งชัยชนะ (ข้อ…

อธิษฐานอย่างไร เมื่อรู้สึกหมดความอดทน

หนึ่งในผลของพระวิญญาณคือ ความอดทน ผมขอสารภาพว่าผมทำได้ไม่ดีนักในเรื่องนี้ ผมขาดความอดทนเมื่ออยู่ในการจราจรที่ติดขัด เมื่อต้องต่อคิว หรือเมื่อต้องรอจนกว่าพนักงานรับโทรศัพท์จะสามารถรับสายของผมได้ ผมสงสัยว่าผมเป็นเพียงคนเดียวที่ต้องการได้รับคำตอบทันทีและความพอใจในทันทีหรือไม่ ในสดุดี 70 ดาวิดรู้สึกเหนื่อยกับการรอคอย

สดุดี 70 เป็นบทเพลงแห่งการคร่ำครวญ บทสดุดีเริ่มต้นและลงท้ายด้วยคำร้องทุกข์ โดยดาวิดขอให้พระเจ้าเร่งรีบ เขาอธิษฐานว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงพอพระทัยที่จะช่วยกู้ข้าพระองค์ ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงเร่งมาช่วยข้าพระองค์เถิด … ขออย่าทรงรอช้า” (ข้อ 1, 5)

ดาวิดถูกจู่โจมจากศัตรูผู้ต้องการสังหารเขา (ข้อ 2) เขาตกเป็นเป้าของการดูหมิ่นและเยาะเย้ย (ข้อ 3) คำอธิษฐานของเขาคือการขอความยุติธรรม ดาวิดต้องการให้พระเจ้าจัดการศัตรูในแบบที่ศัตรูทำกับเขา เป็นการดีที่จะอธิษฐานขอความยุติธรรม และเรามั่นใจได้ว่าวันหนึ่งพระเจ้า “จะประทานแก่ทุกคนตามควรแก่การกระทำของเขา” (โรม 2:6)

แต่อย่าลืมว่าเมื่อเรายังเป็นศัตรูกับพระเจ้า พระองค์มิได้ทรงกระทำกับเราในแบบที่เราสมควรได้รับ แต่กลับทรงช่วยเราด้วยพระคุณของพระองค์ (เอเฟซัส‬ 2‬:5‬) เมื่อพระเยซูทรงเผชิญกับการเย้ยหยันขณะอยู่บนกางเขน พระองค์ทรงอธิษฐานขอให้ศัตรูของพระองค์ได้รับการอภัย (ลูกา 23:34) เราจึงควรเลียนแบบตัวอย่างขององค์พระผู้เป็นเจ้า และก่อนที่เราจะแสวงหาความยุติธรรม เราควรอธิษฐานเช่นนี้ก่อนว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ทรงโปรดเมตตาต่อผู้ที่ข่มเหงพวกข้าพระองค์‬‬ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเมตตาพวกข้าพระองค์ เมื่อพวกข้าพระองค์ยังเป็นศัตรูกับพระองค์อยู่”

คริสเตียนคือกลุ่มคนที่รอคอยความยุติธรรม พระเยซูทรงเตือนว่าเราจะต้องทนทุกข์และถูกข่มเหง (ดูมาระโก 10:29-30) และนั่นเป็นประสบการณ์ของผู้เชื่อจำนวนมาก ในเวลาเช่นนั้น…

อธิษฐานอย่างไร เมื่อรู้สึกผิด

เมื่อทำบาป ผลของการทำบาปย่อมตามมา น้อยคนนักที่จะเข้าใจดีดังเช่นกษัตริย์ดาวิด การผิดประเวณีของดาวิดกับบัทเชบาและการออกอุบายเพื่อสังหารอุรีอาห์สามีของนางเป็นจุดพลิกผันในการครองราชย์ของเขาในฐานะกษัตริย์ของอิสราเอล (ดู 2 ซามูเอล 11-12) ในบทต่อๆ มาใน 2 ซามูเอล เราได้อ่านเรื่องราวของทามาร์ลูกสาวของดาวิดซึ่งถูกข่มขืนโดยอัมโนนลูกชายของดาวิดเช่นกัน (13:6-15) และการก่อกบฏของอับซาโลมลูกชายอีกคนหนึ่งของเขา (16:15-17:4)

การก่อกบฏและสงครามนำความลำบากเดือดร้อนมาสู่การครองราชย์ของดาวิดในช่วงเวลาที่เหลือ ความบาปของดาวิดส่งผลต่อครอบครัวของเขาและต่อทั้งประเทศ แต่ผลร้ายแรงที่สุดคือผลต่อความสัมพันธ์ของเขากับพระเจ้า นับว่ายังดีที่ดาวิดได้สารภาพบาปของเขาหลังจากที่พระเจ้าทรงใช้ผู้เผยพระวจนะนาธันมาแจ้งบาปนั้นแก่เขา

สดุดี 51 เป็นตัวอย่างของคำอธิษฐานของผู้กระทำผิดได้อย่างดีเยี่ยม ประการแรกเราได้ยินคำสารภาพของดาวิด (ข้อ 1-6) ดาวิดเข้าใจดีว่าเขาไม่มีเหตุผลใดที่พระเจ้าควรยกโทษให้กับเขา การอภัยโทษเกิดจากพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น “ตามแต่พระกรุณาอันอุดมของพระองค์” (ข้อ 1) ดาวิดเรียงร้อยถ้อยคำมากมายเพื่อบรรยายความเลวร้ายของสิ่งที่เขาได้กระทำ “การละเมิด” “ความบาปผิด” “บาป” “สิ่งที่ชั่วร้าย” (ข้อ 2-4)

ทุกวันนี้ เรามักอธิบายความบาปของเราว่าเป็น “ความเข้าใจผิด” หรือ “การตัดสินใจที่ผิดพลาด“ แต่ดาวิดไม่ได้เล่นเกมการใช้คำศัพท์กับพระเจ้าเพื่อลดความรุนแรงของบาปที่เขาทำ เขายอมรับผิดและยอมรับว่าพระเจ้าทรงยุติธรรมในการพิพากษา (ข้อ 4) ในที่สุดดาวิดยอมรับว่าเมื่อเขากระทำบาป เขาทำไปตามธรรมชาติบาปของเขาเอง (ข้อ 5)

ประการที่สอง เราได้รับฟังความปรารถนาของดาวิด เขาโหยหาการชำระให้สะอาด (ข้อ 2, 7) เขาต้องการให้ความรู้สึกผิดและความบาปถูกลบออกไป ยิ่งไปกว่านั้นเขาปรารถนาจิตใจใหม่ (ข้อ…

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป นั่นเป็นการแสดงว่าท่านยอมรับ นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา